วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มติอ.ก.ค.ศ.ชลบุรีเขต 3 ครั้งที่ 10/2554

          เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2554  อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ได้ประชุมและมีมติที่น่าสนใจ ดังนี้
          เห็นชอบรายละเอียดการประเมินศักยภาพประกอบหลักเกณฑ์วิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สพฐ. ซึ่งเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์การย้ายผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์การย้ายผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งพร้อ,หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ศธ 0206.4/ว9  ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวกำหนดให้ สพป.จัดทำรายละเอียดการประเมินศักยภาพประกอบหลักเกณฑ์และวิธีย้ายผู้บริหารสถานศึกษา แล้วเสนอให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ให้ความเห็นชอบ
          สพป.ชบ.3 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างรายละเอียดประกอบการประเมินศักยภาพฯ คณะกรรมการชุดดังกล่าวประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ตามสัดส่วนของกลุ่มโรงเรียนภายใน สพป.ชบ. 3 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ สพป.ชบ.3 ก็ได้นำเสนอให้ อ.ก.ค.ศ.ให้ความเห็นชอบ  รายละเอียดการประเมินศักยภาพประกอบหลักเกณฑ์วิธีการย้ายผู้บริหารสถานศึกษาฯ ดังกล่าวมีสิ่งที่น่าสนใจพอที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ครับ
          1. การพิจารณาย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ประเมินศักยภาพ 8 ข้อ ได้แก่  วิสัยทัศน์การเป็นผู้นำ  ความรู่ความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา ผลการปฏิบัติงาน ประสบการณ์ คุณวุฒิ  การรักษาวินัยและจรรยาบรรณ ความอาวุโสตามหลักราชการ  ระยะเวลาดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานในหน่วยงานการศึกษาปัจจุบัน  ทั้ง 8 ข้อที่ประเมินคะแนนเต็ม 45 คะแนน
          2. การประเมินส่วนใหญ่จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์รายละเอียดการประเมินแล้วกำหนดคะแนน โดยกำหนดระดับการประเมินไว้ มี 2 ข้อที่ใช้วิธีการประเมินไม่เหมือนข้ออื่น ได้แก่  ข้อ 2 เรื่อความรู้ความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษากับ ข้อ 7 ความอาวุโสตามหลักราชการ
          โดยทั้งสองข้อนี้ จะใช้วิธีการเปรียบเทียบผู้ที่ยื่นคำร้องขอย้ายไปสถานศึกษาเดียวกัน เพราะฉนั้น คะแนนของข้อ 2 กับ ข้อ 7 ของแต่ละคนจะไม่เท่ากันอยู่ที่คู่แข่งจะย้ายไปโรงเรียนนั้นๆ ตัวอย่างเช่น 
          นายก. นาย ข นาย ค. เขียนคำร้องขอย้ายไปโรงเรียน A เมื่อพิจารณาแล้ว นาย ก มีความอาวุโสตามหลักราชการ สูงสุด นาย ก ก็จะได้คะแนนข้อนี้ 5 แนน นาย ข อาวุโสรองจากนายก็ ก็จะได้ 4 คะแนน นาย ค อาวุโสน้อยที่สุด ก็จะได้ 3 คะแนน
           ในขณะเดียวกัน นาย ก ได้เขียนคำร้องขอย้ายไปที่ โรงเรียน B ด้วย โดยมีคู่แข่งคือ นาย ง  เมื่อพิจารณาแล้ว นาย ง มีความอาวุโสตามหลักราชการมากกว่านาย ก ผลการพิจารณาการย้ายไปโรงเรียน B นาย ง ก็จะได้ 5 คะแนน นาย ก  ก็จะได้ 4 คะแนน
          ในข้อที่ 2 ซึ่งเป็นเรื่องของความรู้ความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษาซึ่งกำหนดให้ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็ใช้วิธีการเดียวกัน
          3. เรื่องประสบการณ์ในข้อที่ 4  ซึ่งหลักเกณฑ์นี้ใช้กับผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาการนับระยะเวลานับจากการดำรงตำแหน่งที่ขอย้าย นั่นหมายถึง ถ้าผู้ยื่นคำร้องขอย้ายเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ก็นับจากการดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนผู้ที่เป็นรองผู้อำนวยการสถานศึกษาก็นับตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
          ในส่วนของรายละเอียดทั้งหมดคาดว่าพรุ่งนี้ (11 สิงหาคม 2554) สพป.ชบ.3 จะแจ้งให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบครับจึงอยากให้พวกเราให้ความสนใจกันครับ อย่าไปใช้ความรู้สึกว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ การย้ายผู้บริหารเป็นเรื่องที่กระทบสิทธิ์ และหน้าที่ของเพื่อนผู้บริหารครับ คำสั่งเรื่องการย้ายจึงเป็นคำสั่งทางการปกครอง เพียงแค่ชี้ให้เห็นได้ว่าอะไรก็ตามที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เมื่อท่านดำเนินการทางการปกครองถึงที่สุดแล้ว ท่านสามารถนำไปสู่ศาลปกครองได้ครับ

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หลักเกณฑ์การย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ.ใหม่

         เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ที่ห้องประชุมกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 7/2554  ก.ค.ศ.มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การย้ายผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ. หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ในการย้าย ในครั้งนี้ (ผู้ที่ยื่นคำร้องขอย้ายระหว่าง วันที่ ๙-๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔) หลักเกณฑ์ดังกล่าว มีประเด็นที่น่าสนใจผมนำมาเปิดประเด็นในการนำไปสู่การปฏิบัติ ดังนี้ครับ
          ๑. สพป.ต้องประกาศรายชื่อสถานศึกษาที่ต้องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๔ (ตามหนังสือ ศธ ๐๒๐๖.๔/ว๙ ลว.๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔)
           ๒. สพฐ. ประกาศรายชื่อสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์พิเศษและสถานศึกษาคุณภาพพิเศษภายในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๔  (ตามหนังสือ ศธ ๐๒๐๖.๔/ว๙ ลว.๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔)
          ๓. ผู้มีความประสงค์จะยื่นคำร้องขอย้าย ให้ยื่นคำร้องขอย้าย ระหว่างวันที่ ๙ - ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ (ตามหนังสือ ศธ ๐๒๐๖.๔/ว๙ ลว.๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔)
          ๔. อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณากำหนดสัดส่วนของจำนวนตำแหน่งว่างที่จะใช้รับย้าย และที่จะใช้บรรจุและแต่งตั้งจากบัญชีผู้ได้รับคัดเลือก ให้เท่ากันหรือต่างกันได้ไม่เกิน ๑ ตำแหน่ง เว้นแต่ไม่มีผู้ได้รับคัดเลือกขึ้นบัญชีรอการบรรจุและแต่งตั้ง หรือไม่มีผู้ขอย้ายลงตำแหน่งว่าง ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา หรือ อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พิจารณาใช้ตำแหน่งว่างได้ตามความเหมาะสม
          ๕. องค์คณะที่มีหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ มี ๒ องค์คณะ ได้แก่ คณะกรรมการกลั่นกรอง กับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ ข้อสังเกต การพิจารณาย้าย ไม่มีคณะกรรมการประเมินชุดอื่น คณะกรรมการกลั่นกรอง มีหน้าที่ พิจารณาคำร้องขอย้ายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด และจัดลำดับความเหมาะสมก่อนเสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่พิจารณา
          ๖.  โครงสร้างของคณะกรรมการกลั่นกรอง
                    (๑) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา                                                     ประธาน
                    (๒) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
                         
ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบกลุ่มบริหารงานบุคค                                                                                   รองประธาน
                          
(๓)อนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา                                               
                                   
ตามที่ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามอบหมาย
                         
ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการย้าย จำนวน ๓ คน                                        กรรมการ       

                    (๔) ผู้อำนวยการสถานศึกษาและหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
                            
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
                       
ที่ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการย้าย จำนวน ๓                                 กรรมการ
                    (๕) ผู้อำนวยการกลุ่มหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล
                         
ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา                                            เลขานุการ
 
                     ข้อสังเกต คณะกรรมการกลั่นกรอง มีทั้งสิ้น ๘ คน คณะกรรมการ (๓) ต้องมอบหมายในที่ประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ แล้ว สพป.ออกคำสั่งแต่งตั้งไม่ใช่ตั้งจาก สำนักงานเขตพื้นที่โดยตรง กรรมการกลั่นกรองที่ต่างจากเดิมคือ ไม่มีผู้แทนจากคณะกรรมการสถานศึกษา
          ๗.  การย้ายผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  ให้พิจารณาย้ายผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาด้วยกัน ทั้งภายในและต่างเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งมีขนาดสถานศึกษาเดียวกันและขนาดใกล้เคียงกันพร้อมกันก่อน
              โดยให้มีการประเมินศักยภาพของผู้ประสงค์ขอย้าย ประกอบด้วย ๑.วิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ ๒.ความรู้ความสามารถในการพัฒนาสถานศึกษา ๓.ผลการปฏิบัติงาน ๔.ประสบการณ์ ๕.คุณวุฒิ ๖.การรักษาวินัยและจรรยาบรรณ ๗.ความอาวุโสตามหลักราชการ และ ๘.ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติงานในหน่วยงานการศึกษาปัจจุบัน (ยืนยันว่า ผู้ที่ดำเนินการนี้ คือ คณะกรรมการกลั่นกรอง(ตามหลักเกณฑ์ข้อ ๙ ไม่ใช่กรรมการชุดอื่นๆที่ตั้งกันเอง)
          ๘. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจัดทำรายละเอียดในการประเมินศักยภาพ เสนอ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพื่อให้ความเห็นชอบและจัดทำเป็นประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
           แปลกันตรงๆก็คือ สพป.จัดทำรายละเอียดในการประเมิน ให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ให้ความเห็นชอบ แล้วคณะกรรมการกลั่นกรองเอาไปใช้ประเมินผู้ยื่นคำร้องขอย้าย
          เพื่อนผู้บริหารที่เคารพทุกท่านครับ อยากให้พวกเราศึกษาหลักเกณฑ์ให้เข้าใจและติดตามเพราะหลักเกณฑ์นี้กระทบกับสิทธิ์และหน้าที่ของพวกเรา ความจริงมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่นการย้ายกรณีพิเศษ การย้ายเพื่อประโยชน์ของทางราชการ อาจดูว่าคล้ายของเดิม แต่ก็ไม่เหมือนกันเลยทีเดียว อะไรก็ตามที่ไม่ได้ดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์ ย่อมนำมาซึ่งความไม่เป็นธรรม และนำไปสู่การฟ้องร้องอาจส่งผลให้ถึงกับยกเลิกคำสั่งที่มาจากการไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ใครมีความเห็นอย่างไรก็นำเสนอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันก็ดีนะครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกัน ผมเห็นมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมมากครับแต่ไร้ความเห็น อยากให้พวกเราช่วยกันแสดงความคิดเห็นให้มากๆ พบกันใหม่เดือนหน้าครับ